ศูนย์ผู้มีบุตรยากจุฬารัตน์ IVF เปิดให้บริการแล้ว
หากคุณแต่งงานมานานกว่า 1 ปี และมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ แสดงว่าคุณกำลังอยู่ใน “ภาวะการมีลูกยาก” โดยหลักการแล้วแม้ว่าภาวะนี้จะไม่ใช่โรค แต่ก็เป็นปัญหาสำหรับคู่สมรสที่หวังอยากมีเจ้าตัวน้อย เพื่อความสมบูรณ์แบบของชีวิตครอบครัว การที่คู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้อาจเกิดจากความผิดปกติบางอย่างที่ส่งผลต่อภาวะการเจริญพันธุ์ ทำให้ไม่สามารถเกิดการปฏิสนธิได้ตามธรรมชาติ โดยอาจมีสาเหตุจากฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชาย หรือทั้งสองฝ่าย หรือไม่ทราบสาเหตุ
ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 11 อินเตอร์ : Chularat 11 IVF Center ตั้งขึ้นด้วยความตั้งใจที่ช่วยให้คู่สามีภรรยาสามารถเอาชนะอุปสรรค อันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการมีบุตรยาก โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านรักษาการมีบุตรยากจากสถาบันที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ผ่านการศึกษาอบรมจากในและต่างประเทศ และมีประสบการณ์มาเป็นเวลายาวนาน คอยให้คำปรึกษาและดูแลผู้ป่วยอย่างครบวงจร โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้การช่วยเหลือคู่สมรสที่มีปัญหาการมีบุตรยาก ให้สามารถมีบุตรได้สมความปรารถนา ด้วยบริการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่มีความทันสมัยและมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
เครื่องมือและเทคโนโลยีทันสมัย
- *ห้องตรวจ ตรวจภายใน, ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography), ฉีดสีตรวจโพรงมดลูกและท่อนำไข่มีการตีบตันหรือไม่ (Hysterosalpingography)
- *ห้องปฎิบัติการเลี้ยงตัวอ่อน (IVF Lab) เครื่องมือและอุปกรณ์ได้มาตรฐาน มีการตรวจสอบ คุณภาพของอุปกรณ์ แก๊ส และน้ำยาทุกชนิดอย่างสม่ำเสมอ มีระบบการเลี้ยงตัวอ่อนด้วยมาตรฐานระดับ Clean Room Class 1,000 ควบคุมสิ่งแวดล้อมทั้งหมดอย่างเหมาะสมเพื่อเลี้ยงตัวอ่อนให้เจริญเติบโตถึงระยะ Blastocyst
- *Sperm Lab ตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนักวิทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ
- *สามารถดูดเซลล์ของตัวอ่อนในระยะ Cleavage หรือ Blastocyst เพื่อนำเซลล์ไปตรวจโครโมโซมและ DNA
- *Hormone Lab ได้ผลที่ถูกต้อง รวดเร็ว มีการควบคุมคุณภาพทั้งภายในและภายนอก
- *มีการแช่แข็งเซลล์ไข่ อสุจิ เด็กตั้งแต่ระยะหนึ่งเซลล์จนถึง Blastocyst โดยมีการแยกถังไนโตรเจนแช่แข็งเป็นกลุ่มสามี ภรรยา ที่ไม่มีโรคติดเชื้อและที่มีโรคติดเชื้อ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ B ออกจากกัน
การบริการ
- ในผู้หญิงอายุไม่มากถ้าไม่มีปัญหาอย่างอื่นแพทย์จะเลือกวิธีการฉีดเชื้ออสุจิเข้าในโพรงมดลูก(IUI intrauterine insemination)โอกาสตั้งครรภ์ 15-20 % ถ้าไม่สำเร็จก็ใช้วิธีเด็กหลอดแก้ว IVF ( In vitro fertilization )โอกาสตั้งครรภ์ 30-50% การตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว พีจีเอส วิธีนี้เพื่อบอกความถูกต้องแม่นยำถึงความผิดปกติของพันธุกรรมในระบบโครโมโซมและยังบอกรายละเอียดถึงระดับยีนส์ด้วย จึงสามารถตรวจการกลายพันธุ์ของยีนส์ที่อาจตรวจไม่พบจากการตรวจวิธีอื่นได้ จะได้รู้ว่าตัวอ่อนที่จะฝังตัวนั้นมีโครโมโซมที่ปกติหรือไม่
- กลุ่มที่สองคือผู้หญิงที่มีอายุเกิน35ปีโอกาสเสี่ยงมีบุตรที่มีความผิดปกติของโครโมโซม เช่น ดาวซินโดรมหนึ่งต่อ 350 หรือ0.28% เมื่อผู้หญิงมีอายุสูงขึ้นคุณภาพของไข่จะลดลงและโอกาสเกิดการผิดปกติของโครโมโซมก็จะแปรผันกับอายุของฝ่ายหญิง หากเราหยุดอายุของใครไม่ได้ การตั้งครรภ์ของหญิงอายุน้อยกว่า35 ปี ก็น่าจะช่วยลดโอกาสเกิดความผิดปกติของโครโมโซมลูก ดังนั้นหญิงที่มีความประสงค์ที่จะเก็บไข่ตัวเองแช่แข็งไว้ก่อน Ovum Freezing ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะได้ไข่มีคุณภาพมากกว่ารอจนอายุมากขึ้น