ฝ่ายชายที่เป็นหมันก็สามารถมีบุตรได้ โดยอาศัยความก้าวหน้าทางการแพทย์ ด้วยการใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดหลายวิธีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในปัจจุบัน เพื่อนำอสุจิออกมาจากอัณฑะหรือส่วนอื่นๆ ในท่อทางเดินของอสุจิ เพื่อไปคัดหาเซลล์อสุจิ (Sperm) แล้วนำผลไปผสมกับเซลล์ไข่โดยวิธีอิ๊กซี่ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) แล้วเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการตัวอ่อน เมื่อตัวอ่อนถึงระยะ blastocyst แพทย์จะทำการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้เกิดการฝังตัวและเกิดการตั้งครรภ์ต่อไป
การใช้วิธีเก็บอสุจิจากแหล่งกำเนิดโดยตรงที่อัณฑะจะ ช่วยให้ได้ตัวอสุจิที่สมบูรณ์มากที่สุด วิธีการเก็บตัวอสุจิจากอัณฑะโดยตรงนี้สามารถใช้ได้ตราเท่าที่อัณฑะยังสามารถผลิตตัวอสุจิได้ จะไม่พบตัวอสุจิที่โตเต็มวัยพอ หรืออาจพบแต่ตัวอสุจิที่เติบโตแล้วในระยะต้นเท่านั้น
โดยทั่วไปแล้วการผ่าตัดนำอสุจิออกมานั้นถือว่าเป็นกระบวนการที่ปลอดภัย และช่วยให้ผู้มีบุตรยากมีความหวังและทางเลือกมากขึ้นในการรักษา จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่าการผ่าตัดนำอสุจิออกมาด้วยวิธีการต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้นอัตราความผิดปกติและพิการของทารกไม่แตกต่างจากอัตราความผิดปกติที่พบในประชากรทั่วไป
ในกรณีที่ผู้ชายทำหมันถาวรแล้วโดยการตัดและผูกท่อนำอสุจิทั้ง 2 ข้าง สามารถจะมีบุตรได้โดยการต่อหมัน หรือการทำเด็กหลอดแก้ว ทางการแพทย์แนะนำว่าถ้าท่านทำหมันชายมากกว่า 10 ปี หรือท่านมีอายุมากกว่า 60 ปี ไม่แนะนำให้ต่อหมัน เพราะโอกาสสำเร็จน้อยมาก ทางเลือกคือการทำ “PESA” คือการเปิดแผลขนาดเล็กบริเวณถุงอัณฑะ เพื่อเอาอสุจิออกมาจากถุงอัณฑะโดยตรง ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่า โอกาสสำเร็จได้ลูกมีมากกว่า โดยวิธีนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจวางยาสลบหรือฉีดยาเฉพาะที่ที่ถุงอัณฑะ หลังจากนั้นใช้เข็มขนาดเล็กดูดอสุจิออกมา